สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 24-30 มกราคม 2563

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
(10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,812 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,725 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,744 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,741 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 31,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,450 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,072 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,741 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,089 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,831 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.56 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 90 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 451 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,775 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 459 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,838 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.74 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 63 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 439 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,408 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 446 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,446 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.56 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 38 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 447 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,652 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 456 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,748  บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 96 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.5423
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
ประเทศไทยมีผลผลิตข้าวเฉลี่ยปีละ 30 ล้านตันข้าวเปลือก เมื่อสีแปรสภาพเป็นข้าวสารก็จะได้ข้าวประมาณ 20 ล้านตัน แบ่งเป็นบริโภคในประเทศ 10 ล้านตัน และส่งออก 10 ล้านตัน ดังนั้น ไทยจึงเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลกได้อย่างไม่ยาก
นายชูเกียรติ  โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าว่าปี 2563 เป็นอีกปีที่ยากลำบากสำหรับการส่งออกข้าวไทย เพราะปัญหาหลักคือเงินบาทแข็งค่ามาก ทำให้ราคาส่งออกไม่สามารถแข่งกับผู้ส่งออกจากหลายประเทศได้ โดยเฉพาะเวียดนาม นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น เช่น พฤติกรรมผู้ซื้อเปลี่ยน โดยเฉพาะจีนที่เริ่มนำข้าวในสต็อกออกมาขายทำให้ตลาดสำคัญ ได้แก่ แอฟริกาเปลี่ยนไปซื้อข้าวจากจีนที่มีแต้มต่อที่ดีกว่าไทย พฤติกรรมของผู้ซื้ออย่างฟิลิปปินส์ ซึ่งยกเลิกระบบการให้โควตาข้าว ซึ่งก่อนหน้านี้กำหนดโควต้าเฉลี่ยปีละ 1-2 แสนตัน โดยฟิลิปปินส์
นำระบบการซื้อแบบเสรีมาใช้ ทำให้การแข่งขันด้านราคาเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจซื้อ ซึ่งไทยมีโอกาสเสียตลาดนี้ให้เวียดนามที่มีราคาส่งออกข้าวต่ำกว่าไทยเกือบตันละ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยราคาส่งออกข้าว 5% (เอฟโอบี) ของไทยเฉลี่ย 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ในปี 2562 ตันละ 417 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนราคาข้าวชนิดเดียวกันของเวียดนามอยู่ที่ตันละ 340 ดอลลาร์สหรัฐฯ ด้านตลาดอย่างอินโดนีเซียที่แม้จะคงนโยบายพึ่งพาตัวเองด้านความมั่นคงทางอาหาร แต่เชื่อว่าปี 2563 น่าจะมีการนำเข้าอีกหลายแสนตัน แต่ไทยก็น่าจะเสียตลาดนี้ให้คู่แข่งอีกเพราะปัจจัยเดิมๆ
“ปี 2563 คาดว่า ไทยน่าจะส่งออกข้าวประมาณ 7.5-8 ล้านตัน แต่อาจต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพราะปัจจัยลบต่างๆ ซึ่งสมาคมฯ กำลังหารือกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อหาแนวทางส่งเสริมการส่งออกและประเมินสภาพตลาดที่ชัดเจนก่อนกำหนดเป้าหมายการส่งออกสำหรับปีนี้ต่อไป”
สำหรับการส่งออกปี 2562 ที่ผ่านมา ปริมาณรวม 7.58 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 32.51 มูลค่า 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.89 ต่ำสุดในรอบ 6 ปี นับตั้งแต่ปี 2556 ที่มีปริมาณส่งออก 6.6 ล้านตัน
หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป เวียดนามอาจแซงหน้าไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวสูงสุดของโลก เนื่องจากเวียดนามส่งออกข้าวเฉลี่ยปีละ 6-7 ล้านตัน และเมื่อมีปัจจัยสนับสนุน ทั้งค่าเงินด่องที่มีเสถียรภาพ และปัจจัยผลผลิตดี ซึ่งตรงข้ามกับไทยที่กำลังเผชิญปัญหาภัยแล้ง ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปปริมาณผลผลิตที่เสียหายได้ แต่เชื่อว่าปีนี้ไทยคงมีผลผลิตไม่สูงมากเท่าที่ควร
“ปัจจัยสนับสนุนต่างๆ แม้ไม่ได้ทำให้เวียดนามส่งออกข้าวได้มากขึ้นแบบก้าวกระโดด แต่การที่ไทยเผชิญปัญหาทั้งเรื่องราคาและปริมาณผลผลิต ที่อาจได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ปี 2563 ไทยอาจจะเสียแชมป์อีกครั้ง”
สำหรับประเทศผู้ส่งออกข้าวสูงสุด (ปี 2561) อันดับหนึ่ง ได้แก่ ไทย รองลงมาคือ อินเดีย ปริมาณ 11.6 ล้านตัน เวียดนามปริมาณ 6.9 ล้านตัน ปากีสถานปริมาณ 3.2 ล้านตัน สหรัฐปริมาณ 3.1 ล้านตัน และจีนปริมาณ 2.06 ล้านตัน
นายชูเกียรติย้ำว่า ข้าวของไทยยังเผชิญกับปัญหาขาดการพัฒนาพันธุ์ข้าว ทั้งเพื่อให้มีปริมาณผลผลิตที่มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันสามารถผลิตได้ที่เฉลี่ยไร่ละ 400 กิโลกรัม (กก.) ขณะที่เพื่อนบ้านอย่างเวียดนามมีปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เกือบ 1,000 กก. สวนทางกับพื้นที่การปลูกข้าวของไทยที่ลดลง ทำให้แนวโน้มราคาข้าวของไทยช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอัตราก้าวกระโดดที่สูงกว่าคู่แข่ง
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) เผยถึงราคาส่งออกข้าวย้อนหลัง 5 ปี พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น ตั้งแต่ตันละ 386 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2558 จนถึงขณะนี้ (มกราคม 2563) อยู่ที่ตันละ 459 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือสูงเกือบตันละ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ
การพัฒนาด้านคุณภาพ ข้าวไทยไม่มีการปรับตัวให้ดีขึ้น ขณะที่เพื่อนบ้านอย่างกัมพูชามีพันธุ์ข้าวหอมมะลิที่ดีสามารถชนะการประกวดหลายเวที ด้วยคุณสมบัติเนื้อนุ่ม หอม เมล็ดสวย ซึ่งเป็นคุณลักษณะเดิมของข้าวหอมมะลิไทย ส่วนผู้ผลิตข้าวหน้าใหม่อย่างเมียนมาก็มีปริมาณผลผลิตสูงใกล้เคียงกับไทย และมีคุณภาพที่ดี มีราคาที่แข่งขันได้
“เมื่อลูกค้าได้ลองข้าวของประเทศอื่นและหากติดใจ ก็ยากที่จะเรียกลูกค้ากลับคืนมา ส่วนทำไมลูกค้าเราเปลี่ยนใจไปลองข้าวจากที่อื่น ตอบได้เลยว่าเพราะราคาที่ถูกกว่ากันมากนั่นเอง”
การซื้อข้าวปริมาณมากๆ ผู้ซื้อเองก็ต้องตอบโจทย์ว่าทำไมต้องซื้อข้าวไทย ซึ่งเดิมไทยเคยมีค่าพรีเมียมที่ทำให้ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่ง เพราะคุณภาพและศักยภาพการส่งมอบให้ลูกค้าที่ดีกว่าผู้ส่งออกจากประเทศอื่น แต่ปัจจุบันค่าพรีเมียมดังกล่าวมีความหมายน้อยลง จะเห็นว่าแม้ข้าวไทยอยู่ในจุดเดิม แต่เมื่อคู่แข่งมีการพัฒนาขึ้นมาก จะเห็นได้ว่าปัจจัยด้านราคากำลังเป็นเงื่อนไขสำคัญของการค้าข้าวในปี 2563 ส่วนการวางแผนเพื่อพยุงการส่งออกข้าวของไทย
ในระยะยาวเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักและร่วมมือกันทำงาน
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาทรงตัว เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน (the Lunar New Year) ที่มี วันหยุดยาวติดต่อกันตั้งแต่วันที่ 23-29 มกราคม 2563 โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 345 ดอลลาร์สหรัฐฯ
เว็บไซต์ European Sting รายงานว่า คณะกรรมาธิการด้านการค้าระหว่างประเทศของสภายุโรป (the EU Committee on International Trade) ได้อนุมติข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป เวียดนาม (The EUVietnam Free Trade Agreement: EVFTA) แล้ว และคาดว่าคณะกรรมการชุดใหญ่ของรัฐสภายุโรปก็จะอนุมัติแบบเดียวกัน
ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าของเวียดนามไปยังตลาดสหภาพยุโรปประมาณร้อยละ 71 จะได้รับการยกเว้นภาษี
ส่วนที่เหลือจะทยอยปรับลดภายในระยะเวลา 7 ปี โดยในส่วนของสินค้าข้าวสหภาพยุโรปได้ให้โควตานำเข้าข้าว
จำนวนปีละ 80,000 ตัน ในอัตราภาษี 0% แก่เวียดนาม ประกอบด้วยข้าวสาร 30,000 ตัน ข้าวกล้อง 20,000 ตัน
(น้ำหนักเท่ากับ 13,800 ตันข้าวสาร) ข้าวหอม 30,000 ตัน และในส่วนของข้าวหักจะลดหย่อนภาษี 50% เมื่อบังคับใช้แล้วลดลงเป็นเส้นตรงในระยะเวลา 5 ปี
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ราคาส่งออกข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขยับสูงขึ้นสูงสุดในรอบ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2562 เนื่องจากผู้ซื้อบางส่วนเปลี่ยนไปซื้อข้าวจากอินเดีย หลังจากที่ราคาข้าวไทยปรับสูงขึ้น ประกอบกับในช่วงนี้มีคำสั่งซื้อจากประเทศในแถบแอฟริกาเข้ามา โดยข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ตันละ 366-371 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากตันละ 364-368 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อน
มีรายงานว่า จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิหร่าน ทำให้มีการกีดกันอิหร่านรุนแรงขึ้น
ส่งผลให้การค้าระหว่างอินเดียและอิหร่านหยุดชะงัก โดยผู้ส่งออกข้าวไม่กล้าที่จะส่งออกข้าวบาสมาติไปยังอิหร่าน ในช่วงนี้ ส่งผลให้การส่งออกข้าวบาสมาติของอินเดียลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากประเทศอิหร่านถือเป็นตลาดนำเข้าข้าวบาสมาติที่สำคัญ โดยในช่วง 8 เดือนแรก (เมษายน-พฤศจิกายน 2562) ของปีงบประมาณ 2562/63 อินเดียส่งออกข้าวลดลงเหลือประมาณ 5.5 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ปริมาณ 7.5 ล้านตัน ขณะที่มูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ปริมาณส่งออกข้าวบาสมาติไปยังอิหร่านในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน มีประมาณ 600,000 ตัน ลดลงจาก 900,000 ตัน เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ผู้ส่งออกต่างกังวลเกี่ยวกับปัญหาการชำระเงินที่อาจล่าช้ากว่ากำหนด เพราะยังไม่มีสัญญาณจากอิหร่านว่าจะชำระเงิน เนื่องจากสหรัฐฯ กำลังดำเนินการกีดกันอย่างหนักในขณะนี้
ทางด้านการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะที่ตลาดยุโรป เนื่องจาก
มีปัญหาเกี่ยวกับสารตกค้างในข้าวที่เกินค่ามาตรฐาน ทำให้ผู้นำเข้าในยุโรปลดการนำเข้าข้าวอินเดียในช่วงที่ผ่านมา
กระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture) รายงานว่า การเพาะปลูกข้าวในฤดูหนาว หรือ Rabi rice (พฤศจิกายน-พฤษภาคม) ในปีการผลิต 2562/63 มีการเพาะปลูกแล้วประมาณ 16.32 ล้านไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 24 มกราคม 2563) เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับ 13.22 ล้านไร่ ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ปีการผลิต 2561/62) โดยรัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายผลิตข้าว ในปีการผลิต 2562/63 (กรกฎาคม-มิถุนายน) ทั้งในฤดู Kharif และ Rabi รวมกันไว้ที่ประมาณ 116 ล้านตัน โดยในฤดู Kharif คาดว่าจะมีประมาณ 102 ล้านตัน และ ฤดู Rabi คาดว่าจะมีประมาณ 14 ล้านตัน
เมื่อเดือนกันยายน 2562 กระทรวงเกษตร (the Agriculture Ministry) รายงานผลการพยากรณ์ ผลผลิตธัญพืช ครั้งที่ 1 (First Advance Estimate of Food Grain Production) สำหรับปีการผลิต 2562/63 (กรกฎาคม 2562-มิถุนายน 2563) โดยคาดว่าในฤดูการผลิต Kharif (กรกฎาคม-ธันวาคม) ของปี 2562/63 จะมีผลผลิตข้าวประมาณ 100.35 ล้านตัน (ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 102 ล้านตันข้าวสาร) ลดลงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับ 102.13 ล้านตัน ในปี 2561/62 แต่มากกว่าในรอบ 5 ปี ที่เฉลี่ยประมาณ 93.55 ล้านตัน
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.82 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.30 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  8.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.61 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.21 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 286.60 ดอลลาร์สหรัฐ (8,640 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 290.00 ดอลลาร์สหรัฐ (8,696 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.17 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 56 บาท  
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 389.70 เซนต์ (4,692 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 385.36 เซนต์ (4,616 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.13 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 76 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 1.325 
ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.239 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.080 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.194 ล้านตัน ของเดือนธันวาคม 2562 คิดเป็นร้อยละ 22.69 และร้อยละ 23.20 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 6.85 บาท ลดลงจาก กก.ละ 7.03 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.56                               
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 36.40 บาท ลดลงจาก กก.ละ 38.23 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.79                    
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
การตลาด
ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์เบอร์ซา มาเลเซีย พบว่า ราคาน้ำมันปาล์มดิบลดลงร้อยละ 10 อยู่ที่ 2,575 ริงกิตมาเลเซีย/ตัน (633.46 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน) ในวันที่ 28 มกราคม 2563 ซึ่งเกิดจากความวิตกว่าไวรัสโคโรน่าจะกระทบความต้องการน้ำมันปาล์มดิบและข้อขัดแย้งระหว่างมาเลเซียและอินเดีย
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,685.55 ดอลลาร์มาเลเซีย (20.58 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,981.89 ดอลลาร์มาเลเซีย (22.63 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 9.94    
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 805.83 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24.95 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 823.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.15    
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
          ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อย และการผลิตน้ำตาลทรายประจำปีการผลิต 2562/63 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 จนถึงวันที่ 28 มกราคม 2563 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 52,036,912 ตัน แยกเป็นอ้อยสด 26,255,565 ตัน (ร้อยละ 50.46) และอ้อยไฟไหม้ 25,781,347 ตัน (ร้อยละ 49.54) ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 5,439,388 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 3,561,094 ตัน  และน้ำตาลทรายขาว 1,134,056 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.36 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 104.53 กก.ต่อตันอ้อย
  1. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ


 

 
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.80 บาท
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 11.24
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 892.7 เซนต์ (10.16 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 917.15 เซนต์ (10.31 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.67
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 296.3 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.17 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 299.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.15 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.95
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.43 เซนต์ (21.45 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 32.90 เซนต์ (22.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.47

 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด



 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,013.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.94 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,027.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 914.50 ดอลลาร์สหรัฐ (27.93 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 927.40 ดอลลาร์สหรัฐ (27.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.39  และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,078.75 ดอลลาร์สหรัฐ (32.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,094.20 ดอลลาร์สหรัฐ (32.99 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 651.25 ดอลลาร์สหรัฐ (19.89 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 660.40 ดอลลาร์สหรัฐ (19.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.39 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,938.25 ดอลลาร์สหรัฐ (34.76 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,154.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.80 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.38 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.39 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 69.68 เซนต์(กิโลกรัมละ 47.56 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 70.41 เซนต์ (กิโลกรัมละ 47.47 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.04แต่เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
 
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,719 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,791 บาทจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.02
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,393 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,463 บาทจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.78
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 783 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 775 บาท   จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.03

                
 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่มีมากขึ้น เพราะเพิ่งผ่านช่วงเทศกาลวันตรุษจีน อีกทั้งผลผลิตสุกรบางส่วนส่งออกได้มากขึ้น ส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  70.68 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.93 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.54 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 68.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.30 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 73.36 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 72.39 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,700 บาท (บวกลบ 78 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา     
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา     
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อใกล้เคียงกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.31บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.31 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.82 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.99 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.17บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.91 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.53

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ในท้องตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค  แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 275 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 306 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 274 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 268 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 301 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 329 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 334  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.50 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 348 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 340 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 305 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 365 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 91.31 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 91.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.23 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 86.97 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 92.00 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.63 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.38บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.84 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 

 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 24 – 30 มกราคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.62 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.99 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.63 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142.79 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 145.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.60 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 144.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.40 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท
ปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.40 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท